หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
เทศบาลตำบล เนินมะกอก ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
Home
ข้อมูลหน่วยงาน
General
บุคลากร
Staff
การบริหารบุคคล
Personnel
ข่าวสาร
News
แผน
Planning
รายงาน
Report
ระเบียบ
Rules
บริการประชาชน
Service
 
Play The Music
 



 
 
 


ประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทศบาลตำบลเนินมะกอก
 
ประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทศบาลตำบลเนินมะกอก  

ลำดับภาพที่ 1/6

ลำดับภาพที่ 2/6

ลำดับภาพที่ 3/6

ลำดับภาพที่ 4/6

ลำดับภาพที่ 5/6

ลำดับภาพที่ 6/6
<<
>>
X
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคนเราผ่านกระบวนการ ศึกษา สังเกตคิดวิเคราะห์จนเกิดปัญญา และตกผลึกมาเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง ความรู้ดังกล่าวไม่ได้แยกย่อยออกมาเป็นศาสตร์เฉพาะสาขาวิชาต่าง ๆ อาจกล่าวไว้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการ และการปรับตัวในการ ดำ เนินชีวิตของคนเรา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชนและในตัวของผู้รู้เอง หากมีการสืบ ค้นหาเพื่อศึกษา และนำมาใช้ก็จะเป็นที่รู้จักกันเกิดการยอมรับ ถ่ายทอด และพัฒนาไปสู่คนรุ่นใหม่ตามยุคตามสมัย ได้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
๑. ความรู้และระบบความรู้ ภูมิปัญญาเป็นระบบความรู้ที่ไม่ถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์ฉะนั้นใน การศึกษาเรื่องภูมิปัญญาจะเข้าไปดูว่าชาวบ้านรู้อะไรอย่างเดียวไม่พอ ต้องศึกษาว่าเขาเห็นสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นได้ อย่างไร
๒. การสั่งสมและการกระจายความรู้ ภูมิปัญญาเกิดจากการสั่งสมและการกระจายความรู้โดยการ น าความรู้มาบริการคนอื่น เช่น หมอพื้นบ้าน สั่งสมความรู้ทางการแพทย์ไว้ในตัวคนๆ หนึ่ง ซึ่งมีกระบวนการที่ทำ ให้ เขาสั่งสมความรู้ เราควรศึกษาด้วยว่ากระบวนการนี้เป็นอย่างไรหมอคนหนึ่งสามารถสร้างหมอคนอื่น ๆ ต่อมา ได้ อย่างไร
๓. การถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ได้มีสถาบันถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญา แต่พบว่า มีกระบวนการถ่ายทอดที่ซับซ้อน ถ้าเราต้องการเข้าใจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เราต้องเข้าใจกระบวนการถ่ายทอด ความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
๔. การสร้างสรรค์ การปรับปรุงระบบความรู้ของภูมิปัญญาชาวบ้านไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่ได้ถูก ปรับเปลี่ยนความรู้และระบบความรู้เพื่อเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง
ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑. เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่อดีตอันยาวนานจนกลายเป็นวิถีชีวิตประจำวันของตนเอง และชุมชนตลอดมา
๒. เป็นมรดกทางสังคมที่ได้จากการเรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการขัดเกลาของกลุ่มคน
๓. เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์
๔. เป็นข้อมูลพื้นฐานในการด ดำรงชีวิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
5. เป็นแนวทางนำไปสู่การปรับตัวของชุมชน ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ แบบพึ่งตนเองของชุมชน
๖. ช่วยเพิ่มความสมดุลระหว่างธรรมชาติสิ่งแวดล้อมกับประชาชน
ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้าน การเกษตรกับ เทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การท า การเกษตรแบบผสมผสาน วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ ไร่นาสวนผสม และสวนผสมผสาน การ แก้ปัญหาการเกษตร ด้านการตลาด การแก้ปัญหาด้านการผลิต การแก้ไขปัญหาโรคและแมลง และการรู้จักปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม กับการเกษตร เป็นต้น
๒. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูป ผลิตผล เพื่อ ชะลอการนำข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็น กระบวนการที่ ทำให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิต และการจำหน่าย ผลิตผลทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มโรงสี กลุ่มหัตถกรรม เป็นต้น
๓. สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการปูองกัน และรักษาสุขภาพของคนใน ชุมชน โดย เน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเอง ทางด้านสุขภาพ และอนามัยได้ เช่น การนวดแผนโบราณ การดูแล และรักษา สุขภาพแบบพื้นบ้าน การดูแลและรักษาสุขภาพแผนโบราณไทย เป็นต้น
๔. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากคุณค่าของ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างสมดุล และยั่งยืน เช่น การทำแนวปะการังเทียม การอนุรักษ์ป่าชายเลน การจัดการป่าต้นน้ำ และป่าชุมชน เป็นต้น
๕. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการสะสม และ บริการกองทุน และธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตรา และโภคทรัพย์ เพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกใน ชุมชน เช่น การ จัดการเรื่องกองทุนของชุมชน ในรูปของสหกรณ์ออมทรัพย์ และธนาคารหมู่บ้าน เป็นต้น
6. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคน ให้ เกิดความ มั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เช่น การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของชุมชน การ จัดระบบ สวัสดิการบริการในชุมชน การจัดระบบสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นต้น
๗. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ ศิลปะมวยไทย เป็นต้น
๘. สาขาการจัดการองค์กร หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการดำเนินงานขององค์กรชุมชน ต่างๆ ให้ สามารถพัฒนา และบริหารองค์กรของตนเองได้ ตามบทบาท และหน้าที่ขององค์การ เช่น การจัดการ องค์กรของ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มประมงพื้นบ้าน เป็นต้น
๙. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษา ทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทย และการใช้ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท เช่น การจัดทำสารานุกรมภาษาถิ่น การปริวรรต หนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆ เป็นต้น
๑๐. สาขาศาสนาและประเพณีหมายถึง ความสามารถประยุกต์ และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทาง ศาสนา ความ เชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลดีต่อบุคคล และ สิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักธรรมทางศาสนา การบวชป่า การประยุกต์ประเพณีบุญประทายข้าว เป็นต้น
     ภูมิปัญญา​ท้องถิ่น​ตำบลเนินมะกอก มีดังนี้
การทำขนมกระยาสาท การนวดแผนไทย การทำดอกไม้จัน  การทำข้าวหลาม  การจักสานตะเข่ง  การเฟอร์นิเจอร์​ การแสดงเป่าปี่ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  การซ่อมเครื่องยนต์​

 

ข่าว ณ. วันที่ 25 พ.ค. 2565 เวลา 14.27 น. โดย คุณ ณัฏฐิณี บุญจิตร

ผู้เข้าชม 88 ท่าน

 
 
 
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

ลำดับภาพที่ 1/2

ลำดับภาพที่ 2/2
<<
>>
X
 
 
   
 



 
  แผนผังเว็บไซต์  
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10